วันที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 11.30 น. นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้นำคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมี นางดนิตา สมจิตต์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ด, พลตรีวรเชษฐ์ ชวนะนรเศรษฐ์ ผู้บังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ 27, พันเอก สาธิต อุ่นกาย รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดร้อยเอ็ด , นายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด, นายเกรียงไกร จิตธรรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด , นายอำเภอจังหาร คณะกรรมการเหล่ากาชาด ผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามสถานการณ์ เพื่อให้กำลังใจและเตรียมการช่วยเหลือชาวร้อยเอ็ดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ณ บ้านดินดำ ตำบลดินดำ, บ้านเปลือยตาล ตำบลดงสิงห์ และบ้านหนองแค ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ประกอบอาหาร ปรุงสด ร่วมกับนายกเหล่ากาชาดจังหวัด ร้อยเอ็ด,ผู้บังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ 27 เพื่อแจกจ่ายผู้ประสบภัย และเหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ดได้มอบสิ่งของ เพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง โจ๊กคัพ บะหมี่คัพ น้ำดื่ม กาแฟโอวัลติน และได้มอบนโยบายในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยอำเภอจังหาร จุดบ้านดินดำ
สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2564 วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 12.00 น.
1. สถานการณ์อุทกภัย
1.1 จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่” ทำให้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณตอนบนของลุ่มน้ำชีในวันที่ 23-25 ก.ย.2564 ในเขต จ.ชัยภูมิและ จ.ขอนแก่น จึงทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำชีเอ่อล้นตลิ่ง และไหลหลากเข้าทุ่มพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำชีในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้น้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร 8 อำเภอ 32 ตำบล 183 หมู่บ้าน 5,419 ครัวเรือน นาข้าวได้รับผลกระทบ 48,825.25 ไร่ ประมง 392 ไร่ ปศุสัตว์ 31,766 ตัว พนังคันดินในพื้นที่ อ.จังหาร ชำรุด 2 แห่ง ดังนี้
1. จุดบ้านดินแดง ต.ดงสิงห์ 2. จุดบ้านเปลือยตาล ต.ดงสิงห์ มีหมู่บ้านถูกน้ำท่วมถนนถูกตัดขาดต้องสัญจรโดยเรือ 1 หมู่บ้าน 29 ครัวเรือน คือ บ้านหนองแค ต.ม่วงลาด อ,จังหาร
1.2 การติดตามสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2564 (แม่น้ำชี) เวลา 12.00 น.
สถานี E.66A บ้านม่วงลาด อ,จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ระดับตลิ่ง 11.60 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 13.01 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 1.41 ม.
สถานี E.95 บ้านวังยาว-หนองแก่ง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ระดับตลิ่ง 9 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 8.03 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง
สถานี E.18 บ้านท่าสะแบง อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับตลิ่ง 9.80 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 9 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง
สถานี E.92 บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ระดับตลิ่ง 8.8 เมตร ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 8.95 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.15 ม.
2. ผลกระทบ
2.1 จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่าน ช่วงระหว่างวันที่ 16-21 ก.ย. 2564 จังหวัดร้อยเอ็ดได้ประกาศ
เขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยในเขตพื้นที่ อ.เชียงขวัญ จำนวน 2 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ต.เชียงขวัญ
(ม.1, 2, 3, 5, 10) และ ต.พระธาตุ (ม. 1, 2, 3, 8)
2.2 จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่” จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวม 3 อำเภอ 14 ตำบล 62 หมู่บ้าน ดังนี้
อ.จังหาร 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ผักแว่น (ม.1, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 13)ต.ม่วงลาด (ม.3,5,6,7,8,9,11,12) ต.ดงสิงห์ (ม.5, 16, 18) ต.แสนชาติ (ม.1, 2, 5, 7) และ ต.ดินดำ (ม.8, 12, 15)
พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 3,823.25 ไร่
อ.เสลภูมิ 7 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.เหล่าน้อย (ม. 3, 4, 6) ต.ศรีวิลัย (ม.3, 4, 5, 7, 10) ต.นางาม
(ม.3, 5, 6, 7, 8, 9, 13, 14, 16) ต.วังหลวง (ม.12, 14, 17) ต.ท่าม่วง (ม.1) ต.เกาะแก้ว (ม.4) และ ต.ขวาว (ม.4) พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 13,385 ไร่
อ. โพธิ์ชัย 2 ตำบล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ต.ดอนโอง (ม. ๒, ๓, ๔, ๖, ๗, ๘) และ ต.สะอาด (ม.๑, ๒,
5, 8, 9, 11) พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ ๕,๓๐๐ ไร่
2.3 จังหวัดได้รับรายงานความเสียจากอุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่”และมวลน้ำชีไหลมาจากจังหวัดชัยภูมิลันตลิ่ง เพิ่มเติม รวม 5 อำเภอ 15 ตำบล 98 หมู่บ้าน ดังนี้
อ.พนมไพร 7 ตำบล 34 หมู่บ้าน ฟื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 3,650 ไร่
อ.ทุ่งเขาหลวง 2 ตำบล 14 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 3,179 ไร่
อ.เชียงขวัญ 3 ตำบล 24 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 6,020 ไร่
อ.อาจสามารถ ตำบล 24 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 3,439 ไร่
อ.ธวัชบุรี 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 60 ไร่
3. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
3.1 อาหารสัตว์พระราชทาน ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ดได้มอบให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ดังนี้
– 13 ต.ค.2564 มอบให้ อ.จังหาร ได้แก่ หญ้ารูซี่แห้ง จำนวน 8,600 กก. อาหารถุงสำเร็จรูป TMR 400 กก. ถุงยังชีพอาหารสัตว์ปีก 20 ชุด และเวชภัณฑ์ในการดูแลรักษาสัตว์ 54 ชุด
– 15 ต.ค.2564 มอบให้ อ.โพธิ์ชัย อาหารสัตว์ จำนวน 4,000 กก.
– 16 ต.ค.2564 มอบให้ อ.เชียงขวัญ 4,000 กก.
3.2 ในวันจันทร์ที่ 18 ต.ค.2564 จังหวัดร้อยเอ็ดได้มีหนังสือถึงอำเภอทุกอำเภอเพื่อซักซ้อมการใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 กรณีการใช้จ่ายเงินทดรองฯ ที่ได้รับจัดสรรอำเภอละ 500,000 บาท
3.3 ในวันจันทร์ที่ 18 ต.ค.2564 เวลา 12.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดและคณะได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ อ.จังหาร
3.4 หน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง, อบจ.รอ, เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 ขอนแก่น, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 7 สกลนคร, ค่ายพล ร.6, มทบ. 27, หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 54 (นทพ. ๕๔), กฟภ.,กรมเจ้าท่า, ชป.รอ., สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ และเหล่ากาชาด จ.รอ.
3.5 กำลังสนับสนุนทรัพยากร ประกอบด้วย รถยกสูง 8 คัน, เรือท้องแบน 13 ลำ, รถประกอบอาหารพร้อมอุปกรณ์ 1 คัน, รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน โดยมีการกระจายกำลังพลและทรัพยากรไว้ในจุดเสี่ยง จำนวน 20 แห่ง
3.6 ถุงยังชีพ ในวันที่ 13 ต.ค. 2564 กรมเจ้าท่า มอบถุงชีพ จำนวน 40 ชุด และ อบจ.รอ. มอบถุงยังชีพ จำนวน 28 ชุด ให้กับผู้ใหญ่บ้าน บ.หนองแค ต.ม่วงลาด อ.จังหาร ดำเนินการแจกจ่ายผู้ประสบอุทกภัย และในวันที่ 16 ต.ค.2564 กรมเจ้าท่ามอบถุงยังชีพ จำนวน 3 ชุด ให้ผู้ประสบอุทกภัย บ.เปลือยตาล ต.ดงสิงห์ อ.จังหาร และนายทินกร อ่อนประทุม มอบถุงยังชีพ จำนวน 30 ชุด ให้กับผู้ประสบอุทกภัย บ.หนองแค ต.ม่วงลาด อ.จังหาร
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ผู้ว่าฯร้อยเอ็ดพร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ ให้กำลังใจ ชาวร้อยเอ็ดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และมอบสิ่งของช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน "