เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 18 ก.ย.2564 ที่ประตูระบายน้ำคลองระบายน้ำ D 8 (ห้วยพระคือ) ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. นำคณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2564 ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น พร้อมติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำชีและการทดสอบระบบเปิด-ปิด ประตูระบายน้ำ แม่น้ำชี เพื่อเตรียมการรับมือระดับน้ำที่เะมสูงขึ้น
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.กล่าวว่า ขอนแก่น มีปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุรวมทั้งหมด ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำเก็บกัก 1,033 ล้าน.ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42.52 อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 7 แห่ง มีน้ำเก็บกักร้อยละ 63 และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก มีน้ำเก็บกักร้อยละ 28 ภาพรวมถือว่ามีน้ำมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก และอุทกภัยอย่างใกล้ชิดทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้สั่งการให้กรมชลประทาน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ให้เป็นไปตามแผนและกำหนดเวลาที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ขณะที่น้ำในแม่น้ำชีซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด ช่วงที่ผ่านจังหวัดขอนแก่น ยังอยู่ในระดับปกติ สามารถรองรับน้ำเพิ่มเติมได้อีกมาก ขณะที่โครงการประตูระบายน้ำคลองระบายน้ำห้วยพระคือ ถือเป็นตัวอย่างของการแก้ไขปัญหาน้ำหลากในเขตชุมชน กับพื้นที่น้ำหลากแบบพื้นที่น้ำท่วมตามธรรมชาติ ที่สงวนรักษาไว้ให้น้ำไหล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีมากกว่า 40 % ซึ่งคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นฤดูฝนอาจจะแตะมากกว่า 60 -70 %ขึ้นไปนี่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีที่เกษตรกรในพื้นที่หนองหวายจะได้รับประโยชน์ตรงนี้ด้วยอย่างไรก็ตามในพื้นที่หลักๆคือในพื้นที่ จ.ชัยภูมิเองจะเห็นว่าการก่อสร้างแหล่งน้ำยังไม่สำเร็จและก็มีคันกั้นน้ำตลิ่งหรือแม้กระทั่งแก้มลิงก็มีเยอะด้วย ซึ่งตอนนี้สิ่งที่เราเฝ้าระวังกรมชลประทานก็ได้ไปกำหนดจุดพื้นที่เสี่ยงในลุ่มน้ำชี 7 แห่งด้วยกันไม่ว่าจะเป็นลำน้ำยัง ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ หรือไปที่ชัยภูมิกะเสียว ตรงนี้ก็ได้ลงเครื่องสูบน้ำตามที่ได้รับบัญชาเอาไว้ว่าให้ลงไปเลยที่เหลือก็ได้เอาบัญชีเครื่องจักรเครื่องมือร้อนให้กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อทำหน้าที่บัญชาการในภาวะวิกฤตณขณะนี้ก็ได้มีการซักซ้อมโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะเป็นแกนหลักในการที่จะกำชับให้หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการและแจ้งให้ประชาชนทราบโดยตรง”
เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่ออีกว่า ที่น่าเป็นห่วงก็คือที่ลำปาวปริมาณน้ำที่ลำปาวขณะนี้มี 30 %ซึ่งยังน้อยอยู่เมื่อปีที่แล้วทำนาเยอะหน่อยเพราะว่ามีน้ำฝนเยอะก็เลยเพลินไปนิดนึงแต่เนื่องจากว่าน้ำฝนไม่ค่อยเข้าทำให้ช่วง2-3 เดือนที่ผ่านมาฝนตกน้อยกว่า 30 – 40 %น้อยกว่าที่คาดการณ์เยอะมากทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำปาวต้องทำหน้าที่ในการเก็บน้ำมากขึ้นกว่าเดิมเพราะฉะนั้นพื้นที่ที่เราคาดหวังที่จะประมาณ 1 เดือนจากนี้ไปเป็นที่ภาคอีสานต้องทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำแล้วน้ำท่วมคงมีไม่มากนักส่วนใหญ่จะไปที่อีสานตอนล่าง และในช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค.นี้ อ่างเก็บน้ำทุกแห่งจะลดการระบายน้ำออกไปเพื่อจะใช้ความชื้นเพื่อใช้ฝนที่ตกทายน้ำเป็นหลักเช่นลำปาวเองก็จะเอาน้ำก็จะไม่ปล่อยในลำปาวเองแน่นอนกลัวจะไปชนกับลำน้ำยังกลัวชนกับลำน้ำชีด้านล่างทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมเพราะฉะนั้นน้ำทุกหยดที่มีขณะนี้ก็จะเก็บไว้ให้หมดก็จะใช้ประมาณไปปลายฤดูฝนนี้ถ้าเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงขึ้นมา
“ขณะเดียวกันเขื่อนจุฬาภรณ์ขณะนี้มีน้ำเยอะซึ่งไม่กระทบอะไรมากมายสามารถช่วยตัวเองได้ที่เราเป็นหลักๆใหญ่ๆก็คือที่อุบลรัตน์ชัยภูมิแล้วก็จะมีตัวเขื่อนที่อยู่ประตูระบายน้ำที่ลำน้ำชีตอนนี้ลำน้ำชีเองเบื้องต้นก็จะเปิดให้หมดยกเว้นที่มหาสารคามก็เริ่มที่จะระดับน้ำเริ่มต่ำลงก็จะใช้ปิดบานเพื่อควบคุมระดับน้ำที่มหาสารคาม ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาคงจำได้ว่าเราใช้น้ำจากลำน้ำปาวมาเลี้ยงคนมหาสารคามในการทำน้ำประปาอันนี้เป็นประเด็นสำคัญที่เราใช้กลไกประตูระบายน้ำในการควบคุมน้ำในลำน้ำชีซึ่งในปีนี้เองซึ่งทางกรมชลประทานเองก็ได้มีการบริหารจัดการน้ำประตูระบายเพื่อที่จะให้เปิดเร่งระบายน้ำออกจากลำน้ำชีก่อนที่ฝนจะมาแต่ในขณะที่ฝนเริ่มจะไม่มีแบบนี้ก็อาจจะลดการระบายน้ำลงไปเพื่อให้น้ำเก็บกักไว้ให้ได้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคต่อไป”
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " สทนช.ติดตามสถานการณ์น้ำที่ขอนแก่น ทดสอบการเปิด-ปิด ประตูระบายน้ำ รับมือมวลน้ำหนุนลุ่มแม่น้ำชีแก้น้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซาก "