วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2024
ข่าววาไรตี้ทั่วไป

มารู้จักเอามื้อสามัคคีของคนโคกหนองนาอำเภอจังหวัดจานกาฬสินธุ์

แชร์ข่าวนี้

วันนี้ (13 กันยายน 2564) นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ มอบหมายให้ นางสาวรุ่งนภา อุปมา พัฒนาการอำเภอดอนจาน ดำเนินการตาม โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นาโมเดล” มีนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เป็นผู้ประสานงาน พัฒนากรประจำตำบล กำกับดูแล เริ่มต้นปีงบประมาณ 2564 จำนวน 77 แปลง ขนาด 1 ไร่ 3 ไร่ และระดับตำบล 15 ไร่ พร้อมรับสมัครเกษตรกรที่ต้องการดำเนินการเพิ่มเติมอีกเพื่อนำเสนอ ไปสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ และผ่านการพิจารณาแล้วหลายแปลง เพราะในหลายจุด หลายอำเภอ ทั่วประเทศ เกษตรกรที่ร่วมโครงการขอยกเลิก จึงเป็นผลดีต่อเกษตรกรชาวอำเภอดอนจาน ที่มองเห็นโครงการ “โคกหนองนาโมเดล” คือทางเลือก และทางรอดของเกษตรกร โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของ โคโรนา ไวรัส โควิด 19
โคกหนองนาโมเดล ดำเนินการตามรูปแบบ “กสิกรรมธรรมชาติ” คือ อาศัยศักยภาพของ “ดิน น้ำ ลม ไฟ” ลักษณะดินเหนียว ดินร่วมเหนียว ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ทิศทางน้ำ การไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ไปในทิศทางใด ลมมรสุม และลมหนาว ส่วนไฟคือ พระอาทิตย์ ทุกอย่างต้องเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจในการดำเนินการ การขุดบ่อ ขุดสระน้ำหรือคลองไส้ไก่ ต้องเป็นไปตามลักษณะของเนื้อดิน ทิศทางของการไหลของน้ำ คลองไส้ไก่ต้องขวางแนวลาดเท การปลูกไม้บังลม ไม้สูง ไม้กลาง ไม้เตี้ย ไม้เรี่ยดิน หรือพืชใต้ดิน ทิศทางของแสง คือพระอาทิตย์ การปลูกต้นไม้ห้ามขวางแนวตะวัน จะบังแสงกันเองของต้นไม้ ที่สำคัญคือต้องดู “ภูมิสังคม” คือการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อนบ้านข้างเคียงต้องไม่กระทบโดยเด็ดขาด


การเอามื้อสามัคคี “เกี่ยวข้องกับภูมิสังคม” นางสาวรุ่งนภา อุปมา พัฒนาการอำเภอดอนจาน ดำเนินการในทุกแปลงโคกหนองนา โดย นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) จัดทำแผนดำเนินการพร้อมจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมตามแปลงของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ เช่น จัดทำแซนวีสปลา น้ำหมักชีวภาพ สะพานรักข้ามคลองไส้ไก่ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ทำคันนาทองคำ สวนสมุนไพร ปล่อยปลา เลี้ยงกบ ทำเล่าไก่ โรงเรือนวัว ควาย สร้างเถียงนา หรือกระท่อมน้อยปลายนา โดยแรงงานคือ เกษตรกรที่ร่วมโครงการโคกหนองนา ที่ว่างเว้นจากการทำงานมาร่วมมือกัน น้องๆ นพต.นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เจ้าภาพหรือเจ้าของแปลงโคกหนองนา ในวันนั้น เป็นอาหารจากในสวน ในโคกหนองนา เช่น มะละกอ ส้มตำอร่อย พืชผักกระถิน ผักบุ้ง ผักกระเฉดน้ำ แกงหน่อไม้ ปลา ต้มไก่ คืออาหารเที่ยงวัน นั่งคุยกัน ถึงแผนงานการดำเนินการทุกระยะที่เราต้องอยู่ภายใต้ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ “โคกหนองนาโมเดล”


เริ่มดำเนินการ “โคกหนองนาโมเดล” เดือนพฤษภาคม 2564 เริ่มการขุดบ่อน้ำ สระน้ำ คลองไส้ไก่ เมื่อมีน้ำ เกษตรกรเริ่มปลูกตะไคร้ ข่า กล้วย คลุมดินด้วยฟางข้าว พืชผักสวนครัว 30 วัน 30 เซนติเมตร เริ่มเป็นศูนย์กลางแหล่งอาหารของชุมชน ขายกบ ปลา พืชผัก วิกฤตคือโอกาส “โควิด 19” ประชาชนหาอาหารใกล้บ้านคือ โคกหนองนาโมเดล


ดังคำพูดของท่าน วีรดนย์ ศิริ นายอำเภอดอนจาน กล่าวไว้ว่า “ทางเลือกทางรอดของเกษตรอำเภอดอนจาน” คือ ตามรอยเท้าพ่อ ไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริก้าวสู่โคกหนองนาโมเดล เรามีข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสู่อาหารที่มีคุณภาพ คือจากการเกษตรอินทรีย์ คือมีแหล่งอาหาร คือ ผู้ทรงอิทธิพล เกษตรกรอำเภอดอนจานเดินทางมาถูกทางแล้ว
นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ทำโครงการโคกหนองนาโมเดลมากเป็นที่ 2 ของประเทศไทย โดยการอำนวยการของนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ต้องกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวมีความสุข ที่นี่คือ “มหานครของอาหารจากการเกษตรอินทรีย์”


***วัชรินทร์ เขจรวงศ์/ รายงาน

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " มารู้จักเอามื้อสามัคคีของคนโคกหนองนาอำเภอจังหวัดจานกาฬสินธุ์ "

ข่าววาไรตี้ทั่วไป ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด